สับปะรด@ท่าอุเทน
หลังจากสับปะรดที่ปลูกในพื้นที่อำเภอท่าอุเทน และอำเภอโพนสวรรค์ ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสินค้าจีไอ ยิ่งทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เพราะมั่นใจในมาตรฐานการผลิตกับลักษณะสับปะรดนครพนมที่มีเปลือกบาง ตาตื้น ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื้อละเอียดแน่น มีสีเหลืองเข้ม (สีน้ำผึ้ง) แกนหวานกรอบ รับประทานได้เช่นเดียวกับเนื้อสับปะรด ส่วนรสชาติก็เป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายคน ด้วยมีรสหวานฉ่ำ หอม และที่สำคัญคือ ไม่กัดลิ้นและไม่ระคายคอ
โดยในทุกวันจะมียอดสั่งซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าขาประจำในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มุกดาหาร สกลนคร ร้อยเอ็ด และอำ นาจเจริญ สั่งจองมาประมาณวันละ 8 ตัน แต่ตนเองสามารถหาได้เพียงวันละ 3 ตันเท่านั้น เคยมีแม้กระทั่งชาวญี่ปุ่นที่ได้ลิ้มลองแล้วติดใจจะสั่งซื้อจำนวนมากไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่สามารถส่งให้ได้ เนื่องจากมีผลผลิตไม่เพียงพอ สำหรับราคาที่ตนเองรับซื้อถึงสวนจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาท แต่ถ้าเกษตรกรตัดมาส่ง
ให้ที่ร้านจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 11-12 บาท และเมื่อรวบรวมแล้วทางร้านจะคัดเกรดโดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ เกรด 1 ส่งให้แม่ค้าตามตลาดจำหน่าย เกรด 2 ส่งตามโรงแรม ร้านอาหาร และเกรด 3 ส่งเข้าโรงงานแปรรูป
นางวรรณภากล่าวว่า ช่วงที่สับปะรดมีขนาดใหญ่สุดคือ เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม อยู่ที่ประมาณลูกละ 4-5 กิโลกรัม แต่ถ้าช่วงนี้จะมีขนาดเล็กลงเหลือประมาณลูกละ 2.5 กิโลกรัม ส่วนรสชาติก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ยังคงเป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้าที่ซื้อไปรับประทานเหมือนเดิม ส่วนราคาส่งนั้น ตนต้องคิดค่าน้ำมัน ค่าจ้างคน
งาน และค่าขนส่งเพิ่มเข้ามา มีการบวกราคาเพิ่มอีกนิดหน่อย แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 2 บาท เพราะถ้าสูงกว่านั้นจะทำให้แม่ค้าที่อยู่ปลายทางจำหน่ายไม่ได้ จึงต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไปทั้งตนเอง เกษตรกร และแม่ค้า ส่วนผลผลิตสับปะรดในปีนี้ ทางร้านจะมีไม่เท่ากับปีที่ผ่านมา เพราะเกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งมีคนมาติดต่อขอซื้อที่สวน หรือบางรายก็นำไปวางจำหน่ายเอง
โดยในทุกวันจะมียอดสั่งซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าขาประจำในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มุกดาหาร สกลนคร ร้อยเอ็ด และอำ นาจเจริญ สั่งจองมาประมาณวันละ 8 ตัน แต่ตนเองสามารถหาได้เพียงวันละ 3 ตันเท่านั้น เคยมีแม้กระทั่งชาวญี่ปุ่นที่ได้ลิ้มลองแล้วติดใจจะสั่งซื้อจำนวนมากไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่สามารถส่งให้ได้ เนื่องจากมีผลผลิตไม่เพียงพอ สำหรับราคาที่ตนเองรับซื้อถึงสวนจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาท แต่ถ้าเกษตรกรตัดมาส่ง
ให้ที่ร้านจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 11-12 บาท และเมื่อรวบรวมแล้วทางร้านจะคัดเกรดโดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ เกรด 1 ส่งให้แม่ค้าตามตลาดจำหน่าย เกรด 2 ส่งตามโรงแรม ร้านอาหาร และเกรด 3 ส่งเข้าโรงงานแปรรูป
นางวรรณภากล่าวว่า ช่วงที่สับปะรดมีขนาดใหญ่สุดคือ เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม อยู่ที่ประมาณลูกละ 4-5 กิโลกรัม แต่ถ้าช่วงนี้จะมีขนาดเล็กลงเหลือประมาณลูกละ 2.5 กิโลกรัม ส่วนรสชาติก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ยังคงเป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้าที่ซื้อไปรับประทานเหมือนเดิม ส่วนราคาส่งนั้น ตนต้องคิดค่าน้ำมัน ค่าจ้างคน
งาน และค่าขนส่งเพิ่มเข้ามา มีการบวกราคาเพิ่มอีกนิดหน่อย แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 2 บาท เพราะถ้าสูงกว่านั้นจะทำให้แม่ค้าที่อยู่ปลายทางจำหน่ายไม่ได้ จึงต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไปทั้งตนเอง เกษตรกร และแม่ค้า ส่วนผลผลิตสับปะรดในปีนี้ ทางร้านจะมีไม่เท่ากับปีที่ผ่านมา เพราะเกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งมีคนมาติดต่อขอซื้อที่สวน หรือบางรายก็นำไปวางจำหน่ายเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น